กําเนิดช็อกโกแลต






เมื่อ C. Linnaeus นักชีววิทยาชาวสวีเดนผู้มีชื่อ
เสียง ได้เห็นต้น cacao เป็นครั้งแรก เขารู้สึกประทับ
ใจในการออกผลของต้นไม้ชนิดนี้มาก จึงได้ตั้งชื่อว่า
Theobroma ซึ่งแปลว่า ภักษาหารของพระผู้เป็นเจ้า
cacao เป็นพืชยืนต้นที่มีถิ่นกํ าเนิดในลุ่มนํ้ า
Amazon มานานกว่า 4,000 ปีแล้ว มันชอบขึ้นในที่ร่ม และมีความชื้นสูง มันขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะ
เมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง C.Columbus เป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้เห็นผลของต้น cacao ในปี พ.ศ. 2045
แต่เขามิได้ให้ความสนใจใดๆ ในต้นไม้นี้เลย จนกระทั่งอีก 20 ปีต่อมา เมื่อนายพล Cortes ได้เห็นจักรพรรดิ
Moctezuma ของเผ่า Aztec ทรงโปรดปรานการดื่มของเหลวชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อพื้นเมืองว่า xocoatl นายพล
Cortes จึงได้ทดลองดื่มบ้างและรู้สึกชอบมาก จึงในปี พ.ศ. 2071 เมื่อเขาเดินทางกลับสเปน เขาได้นํ าผล
ของต้น cacao ไปถวายเป็นราชกํ านัลต่อพระเจ้า Charles ที่ 5 แห่งสเปน พร้อมกันนั้นเขาก็ได้นํ าเมล็ดของ
ต้น cacao ไปปลูกใน ตรินิแคด เฮติ และสเปน ด้วย
เมื่อคนสเปนได้ทดลองเติมนํ้ า นํ้ าตาล ลงไปในกระบวนการ
หมักเมล็ด cacao เขาก็ได้พบว่าการหมักทํ าให้เมล็ดโกโก้มีกลิ่นและ
รสดี มีผลทํ าให้เขาได้เครื่องดื่มชนิดใหม่สํ าหรับบริโภค เรียก
ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มชนิดนี้ก็เป็นที่นิยมชมชอบในบรรดาขุนนาง
ชั้นสูงของสเปนมาก
ทํ าให้สเปน เป็นประเทศที่ผูกขาดการค้าโกโก้นานเกือบ
ศตวรรษ ในเวลาต่อมารสหวานของช็อกโกแลตก็ได้แพร่ไปสู่ประเทศ
ต่างๆ ในยุโรป โดยแพทย์ชาวเนเธอร์แลนด์ที่ ชื่อ S. Blancardl ได้
เคยกล่าวในปี พ.ศ. 2248 ว่า ช็อกโกแลตทํ าให้ต่อมต่างๆ ในร่างกายของผู้บริโภคทํ างานดี และใครก็ตามที่
ดื่มช็อกโกแลตจะมีลมหายใจที่หอม Chales Dickens ก็ได้เคยเอ่ยถึงการดื่มช็อกโกแลตในสังคมชั้นสูงของ
ฝรั่งเศส ในนวนิยาย Tale of Two Cities ประธานาธิบดี J. Jefferson ของสหรัฐฯ ได้เคยคาดหวังว่า
ช็อกโกแลตจะเป็นเครื่องดื่มที่ผู้คนนิยมดื่มมากกว่าชาหรือกาแฟ ในปี พ.ศ. 2371 Van Houten นักเคมีชาว
เนเธอรแ์ ลนด์ไดร้ จู้ กั ทํ าผงโกโก  และอีก 20 ปตี อ่ มา มีคนน าํ ผงโกโก้มาผสมกับเนยและน าํ้ ตาลเพอื่ ทํ าเปน็ แทง่
ช็อกโกแลตสํ าหรับรับประทาน โลกก็เริ่มรู้จักและติดช็อกโกแลตตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบัน มีคนนับล้านที่ติดช็อกโกแลต หลายคนติดช็อกโกแลตเหมือนติดเหล้า ผู้ที่นิยมบริโภค
ช็อกโกแลตมีความเห็นว่า ช็อกโกแลตทํ าให้จิตใจของผู้บริโภคปลอดโปร่ง หลายคนรู้สึกเศร้า แต่เมื่อ
ช็อกโกแลตตกถึงท้อง เขาจะมีความรู้สึกดีขึ้น
ในวารสาร Nature ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 นี้ D. Piomelli นักวิจัยแห่ง Neurosciences
Institute ที่ San Diego ในสหรัฐอเมริกาและคณะได้รายงานว่าสารประกอบ anandamide (Narachidonoylethanolamine)
ที่พบในช็อกโกแลตมีผลต่อสมองเช่นเดียวกับกัญชา ดังจะเห็นได้จากความ
จรงิ ทวี่ า่ คนทตี่ ดิ กญั ชามกั จะตดิ ชอ็ กโกแลตดว้ ย แตค่ วามรนุ แรงของชอ็ กโกแลตจะนอ้ ยกวา่ กญั ชามาก เพราะ
คนที่หนัก 60 กิโลกรัมจะต้องกินช็อกโกแลตถึง 11 กิโลกรัม เขาจึงจะรู้สึกเมา
ในอดีต นักเคมีได้เคยพบว่า ในช็อกโกแลตมี phenyle thylamine, theobromine และ caffeine
ซึ่งสารเหล่านี้ทํ าให้ระดับนํ้ าตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง มาบัดนี้ช็อกโกแลตก็มี anandamine ซึ่งเป็น
สารเสพติดอีกด้วย ฉะนั้นการที่คนบางคนหักห้ามใจที่จะบริโภค
ช็อกโกแลตไม่ได้ เป็นเพราะร่างกายกํ าลังเรียกร้องสารเสพติดนั่นเอง
เมอื่ เป็นเช่นนี้ การบรโิ ภคชอ็ กโกแลต ควรทํ าในลกั ษณะที่
ระมัดระวัง คือหากบริโภคในปริมาณที่พอประมาณ มันก็เป็นอาหารเสริม
แม้แต่ Sir Edmond Hilary ผู้พิชิตยอดเขา Everest เป็นคนแรกก็ได้เคย
บรโิ ภคชอ็ กโกแลตหลายกโิ ลกรมั ขณะทา่ นไตเ่ ขา
ช็อกโกแลตก็เช่นความรัก หากใครตก "หลุม" แล้วถอนตัวยากครับ
ความลับของข็อคโกแลต


ช็อกโกแลต นอกจากจะเป็นขนมรสหอมอร่อยหวานมันแล้ว ยังเป็นสื่อสากล ทั้งทางยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น รวมทั้งเมืองไทยจะมอบให้กันแทนความรู้สึกดีๆ เช่น แทนคำขอบคุณ น้ำใจไมตรี มิตรภาพและความรัก ช็อกโกแลตที่เรากินกันทุกวันนี้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแห่งเดียวกัน ซึ่งชาวยุโรป ได้คิดค้นพัฒนาปรุงแต่งรสชาตินับ ครึ่งศตวรรษมาแล้ว ชาวสเปนเป็นชาติแรกที่ค้นพบรสชาติอันวิเศษของช็อคโกแลต โดยการเติมน้ำ น้ำตาลอ้อยลงในโกโก้แล้วนำไปต้มจนเดือด ทั้งยังได้คิดค้นสูตรการปรุงใหม่ๆ โดยเน้นหนักในการเติมส่วนผสมที่เป็นเครื่องเทศ อย่างอบเชย กานพลู ลูกผักชี และเพิ่มความหอมมันด้วยเมล็ดอัลมอนด์ จากนั้นอีกเกือบหนึ่งศตวรรษจึงแพร่หลายเข้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 18 นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ลินนีอุส ผู้ตั้งชื่อและจัดระเบียบ พีชพันธุ์ต่างๆ ในโลก ได้ตั้งชื่อโกโก้ (ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตช็อคโกแลต) ว่า "เทโอโบรมา คะคาโอ" (Theobroma cacao) คำว่า เทโอโบรมานั้น เป็นภาษากรีก แปลว่า "อาหารแห่งเทพ" นับเป็นชื่อที่เหมาะสมกับรสชาติความอร่อยของช็อคโกแลตนี้แล้ว ช็อคโกแลตแบ่งตามส่วนประกอบได้ 3 ประเภทคือ ช็อคโกแลตนม (Milk Chocolate) ช็อกโกแลตไม่ใส่นม (Dark Chocolate) และช็อกโกแลตขาว (White Chocolate) ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร 5 ชนิด คือ น้ำตาล, ไขมันโกโก้, Milk solid, Cocoa mass และ Lecithin / Vanillin โดยส่วนประกอบแตกต่างกันไปตามสัดส่วนของช็อกโกแลตทั้งสามนั้น


ช็อกโกแลตมีข้อกล่าวหาและมีความเชื่อผิดๆ ที่ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งสิว เพราะจริงๆ แล้ว การเกิดสิวนั้นไม่มีผลมาจากรับประทานอาหารชนิดใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนข้อกล่าวหาทีว่า ช็อกโกแลตมีคาเฟอีนนั้น ความจริงมีอยู่เพียงเล็กน้อย โดยอัตราส่วนช็อกโกแลต 1.4 ออนซ์ จะมีคาเฟอีนอยู่เพียง 6 มก. ซึ่ง เท่ากับจำนวนของคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟแบบดีแคฟ และสำหรับ ไวท์ช็อกโกแลตไม่มีคาเฟอีนอยู่เลย โดยรวมๆ แล้วช็อกโกแลตสามารถเรียกได้ว่า เป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่าง ดีทีเดียว เพราะในต่างประเทศ ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสารประกอบในช็อกโกแลตมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิด มะเร็งและลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากในตัวช็อกโกแลตมีสารชื่อว่า ฟีโนลิกอยู่ในปริมาณสูงฟีโนลิกเป็นสารซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกัน การก่อตัวของไขมันในเส้นเลือด ที่สำคัญยังช่วยชะลอความแก่ด้วย นอกจากนั้นช็อกโกแลตสามารถช่วยกระตุ้นอารมณ์ต่อมรักได้เพราะช็อกโกแลตมี สารกระตุ้นที่มีผลต่อ หัวใจและระบบประสาท เมื่อรับประทานช็อกโกแลตหัวใจจะเต้นแรงขึ้น รู้สึกคึกคักอยากจะกระโดดโลดเต้น อีกทั้งเคยมีคนพูดว่า อารมณ์ตอนทานช็อกโกแลตนั้น เหมือนอารมณ์ตอนตกหลุมรักเพราะร่างกายจะหลั่งสารชนิดเดียวกันออกมา มีข้อแตกต่าง ตรงที่เราหาซื้อความรักไม่ได้ แต่เราสามารถหาซื้อช็อกโกแลตได้ ประโยชน์อื่นๆ ของช็อกโกแลต เช่น ช่วยปรับอารมณ์และจิตใจ ให้เข้าสู่สภาวะปกติ เหมาะมากสำหรับผู้หญิงวัยทองที่เลือดจะไป ลมจะมาทั้งหลาย ฉะนั้นช็อกโกแลตจึงถือได้ว่าเป็นขนมหวานอันดับหนึ่งสำหรับผู้หญิงเลยทีเดียว ช่วยลดอาการปวดท้อง หงุดหงิด หน้าบวม ก่อนมีประจำเดือน ช่วยแก้อาการเมาค้าง ป้องกันการเกิดมะเร็ง เพราะได้พิสูจน์พบแล้วว่า สารที่พบในช็อกโกแลตเป็นสารที่พบในผักผลไม้ และไวน์แดง ช่วยลดอาการอักเสบเวลา เจ็บป่วยต่างๆ มีผลต่อสมองเพราะช่วยทำให้ตื่นตัว และยังช่วยให้กระฉับกระเฉงอีกด้วย ในมิลค์ช็อกโกแลตจำนวน 1.4 ออนซ์ จะประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม แคลเซียมร้อยละ 5 และธาตุเหล็กร้อยละ 15 โดยเฉพาะช็อกโกแลตที่ใส่ถั่วหรืออัลมอนด์ จะมีสารอาหารเหล่านี้มากขึ้นตามไปด้วย
สรุปว่าเมื่อรับประทานช็อกโกแลตไม่ต้องกลัวสิว ไม่ต้องกลัวอ้วนกันอีกต่อไปแล้ว ขอแค่บริโภคอย่างพอดี และ ตระหนักไว้เสมอว่าช็อกโกแลตอุดมไปด้วยไขมันและน้ำตาล ซึ่งถ้าร่างกายได้รับมากเกินไป จะเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควรดูแล สุขภาพของตัวท่านเองให้ดี อย่าตามใจปากมากนัก เพราะการรับประทานอาหารอะไรก็ตามปริมาณมากเกินไป ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดปัญหาได้ด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า ทุกอย่างต้องเดินทางสายกลางไม่มากหรือน้อยเกินไป ท่านผู้อ่านคิดว่าจริงไหม